ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ๑) บุคคลธรรมดา ๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ๓) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี ๔) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

หมายเหตุ

ประเภทของเงินได้พึงประเมิน เพื่อให้การกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินเป็นไปอย่างใกล้เคียงและเป็นธรรมในการเสียภาษี   จึงได้จำแนกประเภทของเงินได้พึงประเมินตามลักษณะของการได้มาออกเป็น 8 ประเภทรวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้   ประเภทที่ ๑  ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น   ๑) เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ๒) เงินค่าเช่าบ้านที่นายจ้างจ่ายให้ ๓) เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดย.ไม่เสียค่าเช่า ๔) เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ ๕) เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน   ประเภทที่ ๒  ได้แก่    เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ไม่ว่าจะเป็น ๑) ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด ๒) เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส ๓) เงินค่าเช่าบ้านที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายให้ เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดย ไม่เสียค่าเช่า …

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ๑. ภ.ง.ด.๙๐ เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใช้สำหรับ ก. ผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้หลายประเภทหรือมีเงินได้ประเภทเดียวแต่มิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร ข. กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่ได้แบ่งและมีเงินได้ ค. ผู้มีเงินได้ที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล   ๒. ภ.ง.ด.๙๑ เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานตาม มาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เพียงประเภทเดียว   ๓. ภ.ง.ด.๙๓ เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้ที่ขอชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี   ๔. ภ.ง.ด.๙๔ เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ครึ่งปี ใช้สำหรับผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพยสิน ฯ  เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมาก่อสร้าง ฯ หรือเงินได้จากการประกอบธุรกิจ ฯลฯ  ตามมาตรา ๔๐(๕)(๖)(๗) หรือ (๘) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือน มิถุนายน ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วย หรือไม่

เงินได้พึงประเมิน

เงินได้พึงประเมิน เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะที่จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้นั้นอาจจะเป็นตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือ ผลประโยชน์อื่นอาจแยกได้ดังนี้ ๑) เงินสดหรือตราสารที่มีค่าเป็นเงินที่ได้รับ ๒) ทรัพย์สินที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ๓) ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ๔) เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆ   ไม่ว่าในทอดใด ๕) เครดิตภาษีเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

การหักลดหย่อนบุตรดังกล่าวจะต้องเข้าองค์ประกอบ ดังนี้

การหักลดหย่อน เงินได้พึงประเมินเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี กฎหมายให้หักลดหย่อนได้อีก ดังนี้ ๑. ลดหย่อนให้สำหรับ  (ก) ผู้มีเงินได้ ๓๐,๐๐๐  บาท  (ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ๓๐,๐๐๐ บาท  (ค) บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้รวมทั้งบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้ คนละ   ๑๕,๐๐๐ บาท  (ง) ถ้าบุตรตาม (ค) ศึกษาอยู่ในประเทศไทย   ในสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย สถานศึกษาเอกชน หรือตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนให้หักลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ ๒,๐๐๐ บาท รวมเป็น ๑๗,๐๐๐ บาท   การหักลดหย่อนบุตรดังกล่าวจะต้องเข้าองค์ประกอบ ดังนี้ ๑) เป็นบุตรชอบด้วกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของ สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย โดยมีเงื่อนไข จำนวนบุตรที่จะหักลดหย่อนได้ ดังนี้ ก. บุตรที่เกิดก่อนหรือใน พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมก่อน พ.ศ. ๒๕๒๒ หักลดหย่อน ได้โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร ข. บุตรที่เกิดหลัง …